จับตาอาเซียนสู่ AEC: อินโดนีเซีย กับการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเงิน

หากจะกล่าวถึงประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามในอา เซียนคงจะมีชื่อของบาหลี และอินโดนีเซียติดอันดับอย่างแน่นอน ซึ่งจากจำนวนประชากรและขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ทำให้ประเทศอินโดนีเซียถูกจับตาจากนักลงทุนเป็นอย่างมากในการรวมประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงในเร็ววันนี้

สภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีทิศทางที่อ่อนแอในปีนี้ ส่งผลให้การลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเทน้ำหนักมายังฝั่งทวีปเอเชียมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการเงิน ที่นักลงทุนต่างนิยมเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ให้ผลตอบแทนสูงทั้งในตลาดหุ้นและ ตลาดอสังหาริมทรัพย์

นาย ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร PwC (PricewaterhouseCoopers) ประเทศไทย เผยว่า ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและวิกฤตหนี้ในแถบยูโรโซนทำให้มูลค่าและจำนวนดีลใน อุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในทางกลับกัน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลับจะเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้เกิดความ คึกคักมากที่สุด ทั้งจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ และการรวมประชาคมอาเซียนในปี 2558

“ภูมิภาคอาเซียนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากการเร่ง พัฒนาพื้นฐานต่างๆเพื่อปูทางสู่การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ส่งผลให้ภาครัฐในกลุ่มประเทศสมาชิกต่างพากันออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศและเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง”


ซึ่งหนึ่งในกลุ่มประเทศสมาชิกในอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากถูกจัดอันดับให้เป็น “กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 7 ประเทศ หรือ (E7)” ที่ประกอบด้วยกลุ่มประเทศจากทั้งเอเชีย อเมริกาใต้และ ยุโรป ได้แก่ จีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก และตุรกี ซึ่งจากการประเมินของ PwC คาดว่า GDP สะสมเฉลี่ยของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หรือ (E7) นี้ จะแซงหน้า กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ประเทศ หรือ (G7) ที่ราว 2.1% ภายในปี 2593

“การเติบโตที่แข็งแกร่งทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการเงินการธนาคาร จะส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ซึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังผันผวน กลุ่มประเทศในเอเชียยังคงสามารถรักษาการเติบโตของภาคการเงินและสินเชื่อได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบทางลบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในยุโรปบ้างในบางส่วน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากฐานทุนที่แข็งแกร่ง และมีแนวโน้มที่สภาวะเศรษฐกิจจะยังรักษาโอกาสในทางบวกได้ในอนาคต” นาย ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร PwC (PricewaterhouseCoopers) ประเทศไทย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่หลายรายได้มองหาโอกาสการเข้าไปลงทุนในต่าง ประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านด้วยกันมากขึ้น โดยอาศัยจังหวะจากความกังวลเศรษฐกิจโลกที่ฉุดให้ราคาสินทรัพย์มีความน่าสนใจ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้อาเซียนมีกิจกรรมการควบรวมที่คึกคักไม้แพ้ยักษ์ใหญ่อย่างจีน และ ญี่ปุ่น โดยเฉพาะใน Sector ภาคการเงินการธนาคาร ไฟแนนซ์ หลักทรัพย์ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการควบรวมที่มีความร้อนแรง ไม่แพ้ภาคพลังงาน อุตสาหกรรมเกษตร และค้าปลีก

“ในอนาคตต่อไป หากภูมิภาคอาเซียนประสบความสำเร็จจากการรวมประชาคมเศรษฐกิจ AEC และมีรากฐานทางการเงินและการลงทุนที่แข็งแกร่ง ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นได้ทั้งโอกาสและจังหวะที่ดีให้กับนัก ลงทุนและสถาบันการเงินในเอเชียแปซิฟิก อย่าง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ให้เข้ามาขยายการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น”


ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราจะได้เห็นธุรกิจไทยขนาดใหญ่หลายรายตื่นตัวในเรื่องของการลงทุนและได้ เพิ่มการขยายกิจการไปในภูมิภาคอาเซียนมากยิ่งขึ้น แต่หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของกลุ่มอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ แล้ว ถือว่าประเทศไทยเรายังต้องเร่งพัฒนาตัวเองอีกมาก เพราะแม้อดีตไทยเราจะมีรากฐานที่ได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆในภูมิภาค แต่ในระยะหลังมานี้เจอมรสุมการเมืองหลายระลอก ทำให้การก้าวเดินไปข้างหน้าขยับได้อย่างยากเย็น

ซึ่งเชื่อว่าหากทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ทำประโยชน์เพื่อประเทศไทยของเราแล้ว การก้าวสู่กลุ่มผู้นำของอาเซียนคงไม่ยากเย็นแสนเข็ญจนเกินไปนัก เนื่องจากยังมีปัจจัยบวกที่รอการขยายตัวอย่างภาคเอกชน ที่รอเป็นกำลังสนับสนุนอย่างแข็งขัน!

Leave a comment